พันธุ์ไม้ในป่าไม้เบญจพรรณ

พันธุ์ไม้ในป่าไม้เบญจพรรณ

1.ไม้สัก
2.ไม้มะค่าโมง
3.ไม้แดง
4.ไม้ประดู่ป่า
5.ไม้ชิงชัน



ชื่อพันธุ์ไม้ สัก
ชื่อสามัญ  Teak
วงศ์  LAMIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์   Tectona grandis Linn.
ชื่ออื่น เคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่), ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บีอี ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), สัก (ทั่วไป), เส่บายี้
(กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 50 เมตร โตเร็ว ผลัดใบในฤดูร้อนส่วนที่ยังอ่อนมีขน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ
สีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่มาก เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบสากคาย สีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า
มีต่อมเล็กๆ สีแดง ดอกเป็นช่อใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น
ออกดอกเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลเป็นผลสดค่อนข้างกลม มีขนละเอียดหนาแน่น กลีบเลี้ยงขยายตัวหุ้มผลไว้ด้านใน
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินแบบตะกอนทับถมที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายน้ำดี
ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ
ต้นไม้ประจำจังหวัด อุตรดิตถ์





















                                                                                                            




ชื่อพันธุ์ไม้ มะค่าโมง

วงศ์      LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์     Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
ชื่ออื่น เขง เบง (เขมร-สุรินทร์), บิง (ชอง-จันทบุรี), ปิ้น (ชาวบน-นครราชสีมา), มะค่าโมง มะค่าใหญ่ (ภาคกลาง), มะค่าหลวง
มะค่าหัวคำ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป   เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 30 เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพูอมน้ำตาล
กิ่งอ่อนมีขนคลุมบางๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ปลายใบมนเว้าตื้นๆตรงกลาง
ฐานใบมนหรือตัด ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกสีชมพู 1 กลีบ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เปลือกแข็งและหนา
ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด ชอบดินร่วน
ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งใกล้แหล่งน้ำ ทุกภาคของไทย ยกเว้นภาคใต้
ต้นไม้ประจำจังหวัด สุโขทัย

 














                                                                                                                                                           




ชื่อพันธุ์ไม้ แดง

ชื่อสามัญ Iron Wood
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylia sylocarpa Var. kerrii (Craib & Hutch.) I. Nielsen
ชื่ออื่น กร้อม (ชาวบน-นครราชศรีมา), ไคว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), คว้าย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว เพร่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),
จะลาน จาลาน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), แดง (ทั่วไป), ตะกร้อม (ชอง-จันทบุรี), ปราน (ส่วย-สุรินทร์) ไปรน์ (ศรีษะเกษ), ผ้าน (ละว้า-เชียงใหม่),
เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก), สะกรอม (เขมร-จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูง 15–30 เมตร กิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีเหลือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ
ประกอบด้วย 2 ช่อ ใบแตกออกเป็น 2 ง่าม ใบย่อย 4–5 คู่รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อทรงกลมคล้ายดอกกระถิน
ที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นฝักรูปไต แบน แข็ง
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้องการแสงแดด
ถิ่นกำเนิด เป็นไม้หลักของป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งทั่วๆ ไป
ต้นไม้ประจำจังหวัด ตาก

                                                                                                                                                                   



ชื่อพันธุ์ไม้ ประดู่ป่า

ชื่อสามัญ Bermese Ebony
วงศ์ FABACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus Kurz
ชื่ออื่น จิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ฉะนอง (เชียงใหม่), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),
ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่ ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง
เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ขอบขนาน
ปลายใบเป็นติ่ง โคนใบมน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อนกลิ่นหอม ผลแผ่เป็นปีกแบนๆ
มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน และมีขนปกคลุมทั่วไป
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วน ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป
ต้นไม้ประจำจังหวัด ชลบุรี

















                                                                                                                                                                  



ชื่อพันธุ์ไม้ ชิงชัน

ชื่อสามัญ Rosewood
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri Gamble
ชื่ออื่น ชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง), ดู่สะแดน (เหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ
ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน
รูปหอก หัวท้ายแหลม
ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้
ต้นไม้ประจำจังหวัด หนองคาย